เจาะแก่นโพลียูรีเทน (PU) สุดยอดวัสดุพอลิเมอร์

น้ำยา Polyurethane

ศึกษาเกี่ยวกับโพลียูรีเทน (PU) วัสดุพอลิเมอร์มหัศจรรย์ พร้อมภาพประกอบพื้นฐานไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ตัววัสดุสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ เสื้อผ้า อุตสาหกรรมหนักและสถาปัตยกรรม

โพลียูรีเทน (PU) เป็นวัสดุพอลิเมอร์มหัศจรรย์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรม มีคุณสมบัติเชิงกลที่ยอดเยี่ยม ทนทานต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ได้ดี

บทความชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คุณเข้าใจเนื้อหาเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการผลิต คุณสมบัติ และการใช้งานของโพลียูรีเทนในอุตสาหกรรมต่างๆ ในตอนท้ายของบทความคุณจะเข้าใจถึงความสำคัญของ PU ในโลกสมัยใหม่ และความเป็นไปได้ที่ไม่มีจุดสิ้นสุดของมัน

พัฒนาการของโพลียูรีเทน (PU)

ประวัติและพัฒนาการของโพลียูรีเทน (PU)

สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในยุคแรกเริ่ม

โพลียูรีเทนถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยอ็อทโท เบเยอร์ (Dr. Otto Bayer) นักเคมีชาวเยอรมัน ซึ่งกำลังมองหาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากยางธรรมชาติ เขาค้นพบว่าการทำปฏิกิริยาระหว่างไดไอโซไซยาเนตกับโพลิออล สามารถสร้างโพลิเมอร์ชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวได้

สำหรับผลิตภัณฑ์โพลียูรีเทนเชิงพาณิชย์ชนิดแรกคือโฟมแบบนิ่มซึ่งเปิดตัวในปี 1950 จากนั้นมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ เปิดตัวตามมาอย่างรวดเร็ว เช่น โฟมแข็ง อีลาสโตเมอร์ สารเคลือบ กาว และยาแนว

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

นับตั้งแต่การค้นพบ PU เทคโนโลยีโพลียูรีเทนได้พัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมต่างๆ นักวิจัยยังคงพัฒนาสูตรและเทคนิคการผลิตใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสร้างวัสดุโพลียูรีเทนหลายประเภทที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เพื่อตอบโจทย์การเติบโตของอุตสาหกรรม

ปัจจุบันโพลียูรีเทนสามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมหนัก วัสดุก่อสร้าง สิ่งทอ เหมืองแร่ เหมืองหิน บ่อทราย วัสดุทดแทนพลาสติกและอุปกรณ์การแพทย์

การค้นพบ PU

กระบวนการผลิตโพลียูรีเทน (PU)

พรีโพลิเมอร์ (Prepolymer)

ไดไอโซไซยาเนต (diisocyanate)

โพลียูรีเทนเกิดจากกระบวนการสำคัญคือการทำปฏิกิริยาไดไอโซไซยาเนตกับโพลิออล (Polyol) ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้ได้คุณสมบัติสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการ การเลือกใช้ไดไอโซไซยาเนตมีผลอย่างมากต่อคุณสมบัติของพอลิเมอร์ที่ได้ ในวงการมีไดไอโซไซยาเนตหลายชนิดที่ใช้กันทั่วไปสำหรับผลิตโพลียูรีเทน ได้แก่:

  • โทลูอีนไดไอโซไซยาเนต (toluene diisocyanate - TDI): TDI ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตโฟมที่มีความยืดหยุ่น และมีคุณสมบัติในการต้านทานตัวทำละลาย การเสื่อมสภาพจากความร้อน และทนแรงบีบอัดได้ดี
  • เมทิลีนไดฟีนิลไดไอโซไซยาเนต (methylene diphenyl diisocyanate - MDI): MDI ใช้ในการผลิตโฟมแข็ง อิลาสโตเมอร์ และสารเคลือบผิว มีการดีดตัวที่ดีเยี่ยม มีประสิทธิภาพการทำงานในอุณหภูมิต่ำ และต้านทานการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส
  • ไดไอโซไซยาเนตอื่นๆ: อาจพบได้น้อย เช่น พี-ฟีนิลลีน ไดไอโซไซยาเนต (PPDI) และอะลิฟาติกไดไอโซไซยาเนต (Aliphatic diisocyanate) มีคุณสมบัติเฉพาะเหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะทาง

โพลิออล (Polyol)

โพลิออลเป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตโพลียูรีเทน การเลือกใช้โพลิออลจะส่งผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย สำหรับประเภทโพลิออลทั่วไป ได้แก่ :

  • โพลิเตตระเมทิล อีเธอร์ ไกลคอล (Polytetramethylene ether glycol - PTMEG): PTMEG เป็นโพลีออลโพลีอีเทอร์ระดับพรีเมียมที่ให้สมบัติเชิงกลที่ดีเยี่ยม และต้านทานการไฮโดรไลซิส
  • โพลิโพรพิลีนไกลคอล (PPG): PPG เป็นโพลิอีเทอร์โพลิออลต้นทุนต่ำซึ่งมีลักษณะการโพรเซสที่ดี และยังมีคุณสมบัติที่สมดุล
  • โพลิเอสเตอร์: โพลิเอสเตอร์โพลีออลให้ความต้านทานต่อแรงดึงที่ดีเยี่ยม ต้านทานการฉีกขาด และทนน้ำมัน แต่อาจมีความต้านทานต่อไฮโดรไลซิสต่ำกว่าเมื่อเทียบกับโพลิอีเทอร์
  • โพลิออลอื่นๆ: โพลิคาโพรแลคโตน โพลิคาร์บอเน็ต และโพลิออลชนิดพิเศษอื่นๆ สามารถนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการคุณสมบัติเฉพาะตัว
กระบวนการผลิตโพลียูรีเทน (PU)

สารเติมแต่ง (Curatives)

ในโลกของยูรีเทน สารเติมแต่งคือสารที่ใช้เพื่อเสริมเติมแต่ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้วัสดุเกิดการแข็งตัว เมื่อสารนี้ถูกเติมลงในสูตรยูรีเทน มันจะช่วยให้เกิดการก่อตัวของพันธะเคมีที่แข็งแรงระหว่างโซ่โพลิเมอร์

ดังนั้น จึงได้วัสดุที่มีคุณสมบัติเชิงกลตามที่เราต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความต้องการของการใช้งาน อีกนัยหนึ่งคือสารตัวนี้จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสถานะของวัสดุ โดยเปลี่ยนจากสถานะของเหลวหรือกึ่งของเหลวไปเป็นสถานะของแข็งนั่นเอง

ไดอามีน (Diamine)

ไดอามีนเป็นเติมแต่ง (Curatives) ตัวหนึ่งใช้ในการผลิตโพลียูรีเทน อีลาสโตเมอร์ มันจะทำปฏิกิริยากับไดไอโซไซยาเนต ทำให้วัสดุโพลิเมอร์ที่ได้เกิดความแข็งแรง มีความแข็งแกร่ง และความทนทานต่อสารเคมี

Diols และ Triols

Diols และ Triols รวมถึงสารเติมแต่ง (Curatives) ประเภทอื่นๆ สามารถใช้ในการผลิตโพลียูรีเทน พวกมันจะทำปฏิกิริยากับไดไอโซไซยาเนตเพื่อสร้างยูรีเทนที่มีคุณสมบัติให้ความยืดหยุ่น ความเหนียว ความทนทาน คอนโวแว้นต่อการสึกกร่อนแก่โพลิเมอร์ที่ได้

อย่างไรก็ดี การเลือกสารเติมแต่ง (Curatives) มีผลอย่างมากต่อคุณสมบัติและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์โพลียูรีเทนที่ได้ในขั้นสุดท้าย

ข้อพึงปฏิบัติในการผลิต

Curative Ratio

ในการผลิตยูรีเทน จะใช้อัตราส่วนของ Curative หมายถึงอัตราส่วนของไดไอโซไซยาเนต (Prepolymer) ต่ออัตราส่วน Curative เพื่อต่อพันธะทางเคมี ซึ่งอัตราส่วนนี้จะส่งผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Final properties) เช่น ความแข็งแรงเชิงกล ความยืดหยุ่น และความทนทานต่อสารเคมี

อุณหภูมิในการผลิต

ระดับอุณหภูมิในกระบวนการผลิตโพลียูรีเทน จะส่งผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Maximize properties)  ในการผลิตขึ้นอยู่กับพรีพอลิเมอร์ที่ใช้ และคุณสมบัติเฉพาะพรีพอลิเมอร์

ข้อพึงปฏิบัติในการผลิต PU

สารเติมแต่ง (Additives)  

พลาสติไซเซอร์ (Plasticizers)

พลาสติไซเซอร์ใช้เติมแต่งเข้าไปในสูตรโพลียูรีเทนเพื่อปรับปรุงในเรื่องลดความหนืด ลดความแข็ง เพิ่มความสามารถในการทำงาน และความสามารถในการแปรสภาพ

นอกจากนี้ ยังสามารถลดค่าอุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (glass transition temperature ;Tg) ของโพลิเมอร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวัสดุนั้นที่อุณหภูมิต่ำได้

ฟิลเลอร์ (Fillers)

สารเติมตัวนี้ใช้เติมลงในสูตรโพลียูรีเทนเพื่อเพิ่มคุณสมบัติเฉพาะ เช่น เพิ่มความแข็งแรงทางกล การนำความร้อน และช่วยในเรื่องของความเสถียร วัสดุที่ถูกเติมแต่งด้วยฟิลเลอร์พบได้ทั่วไป เช่น ใยแก้ว เส้นใยคาร์บอน และสารตัวเติมแร่ธาตุ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตและแร่หินสบู่

สารปกป้อง (Protectants)

การเติมสารปกป้องลงในสูตรโพลียูรีเทนจะช่วยให้วัสดุทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น รังสียูวี ออกซิเดชัน และไฮโดรไลซิส ตัวอย่างสารปกป้อง ได้แก่ สารเพิ่มเสริมสร้างความเสถียรต่อรังสียูวี (UV resistance) สารต้านอนุมูลอิสระ และสารยับยั้งการไฮโดรไลซิส (เสื่อมสลาย)

คุณสมบัติและประสิทธิภาพของโพลียูรีเทน

สมบัติทางกล PU (Dynamic Properties)

  1. ความแข็ง (Hardness): โพลียูรีเทนมีระดับความแข็งหลากหลายระดับ (Shore OO - 80 Shore D) ตั้งแต่อ่อนและยืดหยุ่นมากไปจนถึงแข็งและแข็งมาก อย่างไรก็ดี คุณสมบัติเหล่านี้ขึ้นอยู่กับพรีพอลิเมอร์ สารเติมแต่ง และเทคนิคการผลิต ทำให้วัสดุขั้นสุดท้ายเหมาะกับการใช้งานหลากหลาย เช่น เบาะรองนั่ง ล้อรถ และสารเคลือบป้องกัน
  2. ความต้านทานแรงดึง (Tensile strength): โพลียูรีเทนมีความต้านทานแรงดึงที่ดีเยี่ยม กล่าวคือ มีความสามารถในการต้านทานการแตกหักภายใต้แรงดึง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานที่รับน้ำหนัก เช่น สายพานลำเลียงและส่วนประกอบระบบกันสะเทือน
  3. การยืดตัว (Elongation): การยืดตัวเป็นการวัดความสามารถของวัสดุในการยืดโดยไม่แตกหัก โพลียูรีเทนมีคุณสมบัติการยืดตัวได้ดี ซึ่งช่วยให้ทนทานและยืดหยุ่นต่อการใช้งาน เช่น ซีล ปะเก็น และชิ้นส่วนที่เป็นยาง
  4. โมดูลัส (Modulus): สภาพยืดหยุ่นของวัสดุจะแสดงถึงความแข็งหรือความต้านทานต่อการเสียรูป สภาพยืดหยุ่นของโพลียูรีเทนสามารถปรับแต่งได้ผ่านตัวพรีโพลิเมอร์และส่วนที่เป็น Curative ทำให้สามารถผลิตวัสดุที่มีระดับความแข็งที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานลักษณะต่างๆ เช่น ส่วนประกอบโครงสร้างและโฟมที่ยืดหยุ่นได้
  5. แรงฉีกขาด (Tear strength): โพลียูรีเทนมีความต้านทานการฉีกขาดที่น่าประทับใจ จึงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความทนทานและความเหนียว เช่น การเคลือบป้องกันและชิ้นส่วนอุปกรณ์อุตสาหกรรม
คุณสมบัติและประสิทธิภาพของ PU

สมบัติต้านทาน (Resistance properties)

  1. การคืนตัว (Compression set): การคืนตัวของวัสดุ หมายถึงความสามารถในการกลับคืนสู่รูปร่างเดิมภายหลังจากถูกบีบอัด โพลียูรีเทนมีการคืนตัวต่ำ จึงเหมาะสำหรับการใช้งาน เช่น ซีลและปะเก็นที่ต้องรักษารูปร่างภายใต้แรงบีบอัด
  2. การดีดกลับ (Rebound/Resilience): การดีดตัวใช้วัดความสามารถของวัสดุในการกลับคืนสู่รูปร่างเดิมหลังจากถูกเปลี่ยนรูป โพลียูรีเทนมีคุณสมบัติในการคืนตัวที่ดีเยี่ยม ซึ่งมีส่วนช่วยในการใช้งานต่างๆ เช่น รองเท้ากีฬา และชิ้นส่วนระบบกันสะเทือนของรถยนต์
  3. ประสิทธิภาพการทำงานที่อุณหภูมิต่ำ: โพลียูรีเทนให้ความยืดหยุ่นที่ดีไม่แข็งกรอบ บวกกับมีสมบัติทางกลที่ดี ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพอากาศหนาวเย็น ในช่วง -40 °C ถึง 60 °C เช่น อุตสาหกรรมในห้องเย็น (Cold Room)
  4. ประสิทธิภาพการทำงานที่อุณหภูมิสูง: โพลียูรีเทนสามารถทนต่อความร้อน ณ อุณหภูมิที่สูงได้โดยไม่เสื่อมสภาพอย่างมีนัยสำคัญ คือไม่เกิน 130 องศาเซลเซียล ขึ้นอยู่เกรดพรีโพลีเมอร์ที่ทนทานความร้อนได้ ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ร้อนหรือภายใต้การสัมผัสกับความร้อนเป็นเวลานาน เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และงานอุตสาหกรรม
  5. ทนทานต่อการสึกกร่อน (Abrasion resistance): โพลียูรีเทนมีความทนทานต่อการเสียดสีสูง จึงเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับงานที่ต้องการการป้องกันหรือการสึกหรอ เช่น สายพานลำเลียง ล้อ และงานเคลือบป้องกัน
  6. การสะสมความร้อน (Heat buildup): โพลียูรีเทนมีคุณสมบัติสะสมความร้อนต่ำ ในขณะที่รับแรงน้ำหนักกด หรือ Loading ได้ดี ลดการเสื่อมสภาพวัสดุที่ใช้งาน เช่น ยางล้อและส่วนประกอบของเครื่องจักร
  7. ต้านทานต่อไฮโดรไลซิส (Hydrolysis resistance): โพลียูรีเทนมีความต้านทานที่ดีเยี่ยมต่อปฏิริยาไฮโดรไลซิส ซึ่งเป็นภาวะการเสื่อมสลายของวัสดุเมื่อเกิดการสัมผัสกับน้ำ ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น หรือการใช้งานที่ต้องการการกันน้ำ เช่น อุปกรณ์เดินทะเลและเมมเบรนกันซึม
  8. ทนต่อน้ำมัน (Oil resistance): โพลียูรีเทนมีความทนทานต่อน้ำมันและของเหลวที่มีส่วนประกอบของปิโตรเลียมอื่นๆ ได้ดี จึงเหมาะสำหรับใช้ในงานต่างๆ เช่น ซีลและปะเก็นในยานยนต์ อุปกรณ์อุตสาหกรรม รวมถึงกระสวยในท่อส่ง (Pipeline Cleaning PIGS)

การประยุกต์ใช้โพลียูรีเทนในอุตสาหกรรมต่างๆ

ยานยนต์

โพลียูรีเทนมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ สามารถใช้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น เบาะรองนั่ง พวงมาลัย แผงแดชบอร์ด ปะเก็นและซีล รวมถึงส่วนประกอบของระบบกันสะเทือน [อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง .. (รู้จักโพลียูรีเทนในอุตสาหกรรมยานยนต์)]

การก่อสร้าง

โพลียูรีเทนใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างแพร่หลาย อาทิ วัสดุกันฉนวน ยาแนวและสารยึดเกาะ เมนเบรนกันซึม วัสดุปูพื้น และส่วนประกอบโครงสร้าง [อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง .. (ยูรีเทนในงานสถาปัตย์และการออกแบบสมัยใหม่)]

สิ่งทอและแฟชั่น

อุตสาหกรรมสิ่งทอได้นำโพลียูรีเทนไปทำหนังสังเคราะห์ได้คุณภาพเหมือนหนังแท้  ใช้ทำผ้าเคลือบกันสาด เต็นต์ ชุดป้องกันรังสียูวี รวมถึงเสื้อผ้ากันน้ำที่ใส่สบาย มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี [อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง .. (Polyurethane ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น)]

การประยุกต์ใช้ PU ในอุตสาหกรรมต่างๆ

การใช้งานเฉพาะด้าน

โพลียูรีเทนสามารถนำไปผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนสำหรับงานเฉพาะทาง  เช่น ล้อโรลเลอร์สเก็ต ลูกกลิ้งเคลือบสีในเครื่องพิมพ์ออฟเซต กระสวยทำความสะอาดท่อส่งน้ำมัน อุปกรณ์เก็บเกี่ยวธัญพืช ยางรถยก ค้อน ม่านพ่นทราย เครื่องจักรซักรีด ล้อม้วนกระดาษในโรงงานผลิต และอุปกรณ์แปรรูปเนื้อสัตว์ 

แนวโน้มอนาคตและนวัตกรรม

วัสดุมหัศจรรย์

โพลียูรีเทนจดจำรูปร่าง (Shape memory polymers ; SMPs): วัสดุมีศักยภาพในการใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์ อวกาศ และชีวการแพทย์

การประยุกต์ใช้ขั้นสูง PU

วัสดุน้ำหนักเบา (Lightweight): โพลียูรีเทนน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับโลหะสามารถช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมยานยนต์

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ: โพลียูรีเทนได้รับความนิยมในวงการพิมพ์ 3D ใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ (Molding) และแม่พิมพ์เพื่อหล่อผลิตภัณฑ์ (Casting) ซึ่งนำไปสู่กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ

งาน Heavy-Duty Load: โพลียูรีเทน (PU) เป็นเลิศในเรื่องการรับโหลดหนักๆ ใช้กันทั่วไปในอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุสิ่งของ เช่น ยางรถยก (Forklift tires) และล้อรับน้ำหนัก (Load wheels) ช่วยให้มั่นใจได้ถึงการรับน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและการขนส่งที่ปลอดภัย

แนวโน้มอนาคตและนวัตกรรม PU

บทสรุป

อุตสาหกรรมโพลียูรีเทนมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาวิจัยจนเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ช่วยประหยัดพลังงาน และยังมีการพัฒนาวัสดุอัจริยะมหัศจรรย์เพื่อแก้ปัญหาให้กับชาวโลก

เนื้อหาในบทความนี้ได้เจาะลึกถึงโพลียูรีเทนประเภทต่างๆ ทั้งความเป็นมา กระบวนการผลิต คุณสมบัติหลักที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงสมบัติเชิงกลและความทนทานต่อปัจจัยภายนอก

เรียกได้ว่าโพลียูรีเทนมีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมหนัก ยานยนต์ การก่อสร้าง สิ่งทอ และเหมืองแร่ ตั้งแต่เบาะรองนั่งและวัสดุฉนวนไปจนถึงหนังสังเคราะห์

บทความนี้ยังกล่าวถึงการใช้งานเฉพาะด้าน โดยแสดงให้เห็นว่าสูตรโพลียูรีเทนที่ปรุงแต่งให้เหมาะสมนั้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความทนทานในตัวผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ล้อโรลเลอร์สเก็ต อุปกรณ์ซักรีด และอุปกรณ์แปรรูปเนื้อสัตว์

โดยสรุป ประโยชน์ของโพลียูรีเทนและคุณสมบัติที่ปรุงแต่งได้นั้น ทำให้ PU กลายเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่มีคุณค่าตัวหนึ่ง ในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มากมาย

หากคุณสนใจหรือต้องการคำปรึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์โพลียูรีเทน อีลาสโตเมอร์เพิ่มเติม เพื่อใช้ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรม โปรดติดต่อทีมงานที่มีประสบการณ์ บริษัท Duraflex D เราพร้อมให้ความช่วยเหลือ

ติดต่อทางอีเมล์ apai@duraflex-d.com, rassamee@duraflex-d.com หรือโทรหาเราที่ 02-276-2406

คุณสามารถติดต่อผ่านทางเว็บไซต์ของเราที่ Contact

ให้เราช่วยคุณปลดล็อคความมหัศจรรย์ของโพลียูรีเทนได้แล้ววันนี้!
บทสรุปเกี่ยวกับ PU

Reference:

Wikipedia

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

1.ยูรีเทนในงานสถาปัตย์และการออกแบบสมัยใหม่

2.รู้จักโพลียูรีเทนในอุตสาหกรรมยานยนต์

3.Polyurethane ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น