ฉนวนกันความร้อนช่วยบ้านคุณได้อย่างไร?

น้ำยา Polyurethane

ฉนวนกันร้อน

หากคุณกำลังมองหาฉนวนกันความร้อนสำหรับบ้านใหม่ของคุณหรือหุ้มฉนวนให้กับบ้านของคุณในปัจจุบัน เพื่อใช้สกัดความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่นๆภายในบ้าน คุณมาถูกที่แล้ว เพราะวันนี้ทางเราจะมาตอบคำถามว่า ฉนวนกันความร้อนคืออะไร และฉนวนทำงานอย่างไร เพื่อปกป้องบ้านของคุณและทำให้คุณรู้สึกสบายตลอดทั้งปี


ฉนวนกันความร้อน (Thermal Insulation) หมายถึงสิ่งที่เรานำมาใช้เพื่อยับยั้งการถ่ายเทความร้อนจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง ซึ่งวัตถุทั้งสองนี้สามารถเป็นได้ทั้งอุณหภูมิร้อนและเย็น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ระหว่างภายในและภายนอกของผนังบ้าน และอื่นๆอีกมากมาย โดยฉนวนกันความร้อนนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของโครงสร้างหลังคาและฝ้าเพดาน ปกป้องทั้งความร้อนจากแสงอาทิตย์และความเย็นจากภายนอกอาคาร ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟภายในอาคารอีกด้วย


ความสำคัญของฉนวนกันความร้อนนั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของฉนวนทั่วโลก ทำให้ความต้องการฉนวนกันความร้อนในโครงสร้างอาคารต่างๆสูงขึ้น เพื่อลดการสูญเสียพลังงานสำหรับความร้อนหรือความเย็น

ฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อนทำงานอย่างไร?

ความร้อนจะไหลจากบริเวณที่อุ่นไปยังบริเวณที่เย็นกว่าตามธรรมชาติ เช่น ในช่วงฤดูร้อน ความร้อนจะเคลื่อนจากภายนอกเข้าไปสู่ภายในอาคารหรือบ้านที่เย็นกว่า และในฤดูหนาว ความร้อนจะเคลื่อนตัวจากภายในอาคารซึ่งพื้นที่ที่อบอุ่นกว่า ออกไปยังพื้นที่กลางแจ้ง โดยฉนวนกันความร้อนจะมีลักษณะเบา ประกอบไปด้วยฟองอากาศเล็กๆจำนวนมาก ซึ่งมีคุณสมบัติในการสกัดกั้นความร้อน ชะลอการเคลื่อนที่ของความร้อนจากพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าไปยังพื้นที่ที่เย็นกว่า แต่การใช้ฉนวนกันความร้อนนั้นไม่ได้หมายความว่า คุณจะสามารถกำจัดความร้อนได้อย่างสมบูรณ์ 100% แต่ก็สามารถช่วยได้มาก


ฉนวนจะทำงานโดยชะลอการเคลื่อนที่ของความร้อนจากพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าไปยังพื้นที่ที่เย็นกว่า ชะลอการสูญเสียความร้อนจากอาคารและส่วนประกอบต่างๆ เช่น ท่อ เป็นต้น ทำให้ภายในอาคารรู้สึกสบาย เก็บอากาศเย็น ไม่ร้อนเกินไปในฤดูร้อน และกักเก็บความร้อน ความอบอุ่นภายในอาคารในฤดูหนาว เมื่อติดตั้งอย่างถูกต้องแล้ว ฉนวนกันความร้อนยังสามารถช่วยในการรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งได้ด้วย อีกทั้งยังลดค่าพลังงานไฟฟ้าให้กับอาคารของคุณอีกด้วย


โดยอาคารสามารถใช้วัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนหุ้มผนังอาคารโดยตรง หรือใช้การเติมวัสดุฉนวนกันความร้อนลงในช่องว่างระหว่างเพดานและผนังอาคาร พื้นที่หลักที่คุณควรพิจารณาในการใช้ฉนวนกันความร้อนคือ หลังคา ผนัง หน้าต่าง ประตู และพื้น


มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อปริมาณความร้อนที่สูญเสียไปภายในอาคาร เช่น ความร้อนที่สูญเสียผ่านผนังที่ใช้ร่วมกันกับอาคารที่อยู่ติดกัน หรือผ่านพื้นในอาคาร เป็นต้น ในอาคารทั่วไป ความร้อนของคุณอาจสูญเสียไปตามผนังถึง 30% และสูญเสียผ่านหลังคา 25% ซึ่งฉนวนที่ใช้ในระบบหลังคานั้น นอกจากจะต้องกันความร้อนได้สูงแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติเพียงพอที่รับน้ำหนักได้ด้วยเช่นกัน


ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด?

ฉนวนกันความร้อนนั้นมีหลายประเภท แต่ละชนิดจะมีความต้านทานความร้อนที่แตกต่างกันออกไป โดยฉนวนที่มีความสามารถในการต้านทานความร้อนได้ดี จะมีค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อน (ค่า K) ที่น้อย โดยสิ่งที่ควรใช้ในการพิจารณาเลือกวัสดุของฉนวนกันความร้อน คือความสามารถในการป้องกันความร้อน การเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันความชื้นกันน้ำ ทนต่อเชื้อรา มีความปลอดภัย และความทนทาน ง่ายต่อการบำรุงรักษา


ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด



1.โพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane Foam

ฉนวนกันความร้อนที่เป็นที่รู้จักในชื่อ PU Foam ไม่ดูดซับความชื้น สามารถป้องกันน้ำซึมผ่านได้ และลดเสียงดังได้ดี โดยจะเป็นเนื้อเดียวกับวัสดุ ไร้รอยต่อ สามารถเลือกกำหนดความหนาของโฟมได้ตามต้องการ ซึ่งทำให้ช่วยลดความร้อนได้มากขึ้น โพลียูรีเทนโฟมสามารถป้องกันพลังงานความร้อนและความเย็นที่ไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดการส่งผ่านพลังงานความร้อนความเย็น สามารถใช้งานได้อย่างทนทานในช่วงอุณหภูมิ –70 องศาเซลเซียส ถึง 100 องศาเซลเซียส และมีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี โดยไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด

สามารถใช้ได้ดีกับหลังคาทุกประเภท ลดรังสีจากแสงแดดได้มาถึง 90% อีกทั้งยังเหมาะกับงานเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น และสามารถหุ้มผนังห้องเย็นเพื่อป้องกันการสูญเสียความเย็นจากผนังห้องได้อีกด้วย

2.อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

เป็นแผ่นอะลูมิเนียมที่ถูกนำมาทำให้มีความหนามากขึ้น มีความเหนียว ทนทาน ราคาถูก มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี สามารถใช้คู่กับอะลูมิเนียมฟอยล์เทปในการติดตั้ง

3.ฉนวนใยแก้ว (Microfiber)

เป็นเส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็ก สามารถทนความร้อนได้สูง และมีคุณสมบัติกันเสียงรบกวนได้ อีกทั้งยังป้องกันความชื้อได้สูง มีความยืดหยุ่น สามารถคืนตัวได้เร็ว มีน้ำหนักเบา ทนทาน ป้องกันเชื้อราและแมลงได้

4.ฉนวนใยเซลลูโลส (Cellulose)

ผลิตมาจากไม้หรือกระดาษรีไซเคิล โดยนำมาแผ่และดึงให้กระจายออก ย่อยจนละเอียด และนำมายึดติดกันด้วยสารบอแรกซ์ ซึ่งวัสดุชนิดนี้จะมีคุณสมบัติต้านทานการลุกไหม้ และสามารถดูดซับความชื้นได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันเสียงรบกวนได้เป็นอย่างดี

5.แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate)

ประกอบด้วยไฮดรัสแคลเซียมซิลิเกต (Hydrous calcium silicate) มีความสามารถในการป้องกันไฟ สามารถปรับตั้งค่าในแต่ละอุณหภูมิได้รวดเร็วตามสภาพการใช้งาน เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่ใช้อุณหภูมิสูง แข็งแรง ทนทาน ป้องกันไฟ นิยมใช้ในการหุ้มท่อและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมที่ใช้ความร้อนสูง

6.เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite)

มีลักษะเป็นเกร็ดคล้ายกระจก ประกอบด้วยแร่ไมก้า และมีน้ำเป็นส่วนประกอบ โดยนำผงไปผสมกับซีเมนต์หรือทราย จะได้คอนกรีตที่มีค่าการนำความร้อนต่ำ สามารถหล่อเป็นรูปร่างต่างๆได้ แต่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก

7.เซรามิคโค้ดติ้ง (Ceramic Coating)

เป็นสีเซรามิค มีลักษณะเป็นของเหลวใช้ทาหรือพ่น ช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี สามารถติดตั้งได้ง่ายและมีคุณสมบัติช่วยป้องกันความร้อนที่ผิวอาคารโดยตรง แต่มีอายุการใช้งานต่ำตามสภาพอากาศภายนอก

8.ฉนวนใยหิน (Mineral Wool)

เป็นเส้นใยของหินที่เกิดจากการหลอมหินที่อุณหภูมิมากกว่า 1000°C สามารถกันเสียงได้เป็นอย่างดี ไม่ดูดซับน้ำ ไม่เป็นเชื้อรา ไม่ติดไฟ ทนทาน ยากต่อการผุพัง แต่ฉนวนใยหินนั้นถูกห้ามใช้ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากมีการวิจัยว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณได้รู้จักกับฉนวนกันความร้อนมากขึ้น และทำให้คุณสามารถเลือกวัสดุของฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมกับอาคารของคุณ พร้อมทั้งยังช่วยคุณประหยัดพลังงาน และค่าใช้จ่ายภายในอาคารได้นะคะ